泰王国驻华大使馆,北京

Royal Thai Embassy, Beijing

其他文件

ผู้ร้องกรอกแบบฟอร์มเนื้อหาให้ครบถ้วนและมาลงนามต่อหน้าเจ้าพนักงานที่สถานเอกอัครราชทูตการรับรองลายมือชื่อประเภทต่าง ๆ เช่น

หากไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทย แต่มีความประสงค์จะดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารที่หน่วยงานราชการไทย เช่น

1. ขอคัดสำเนาเอกสารประจำตัวบุคคลต่างๆ เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาสูติบัตร สำเนาทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว สำเนาทะเบียนสมรสและหย่า
2. ขอหนังสือรับรองต่างๆ เช่น หนังสือรับรองความเป็นโสด หนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หนังสือรับรองสถานที่เกิด หนังสือรับรองประวัติการยื่นขอทำใบอนุญาตขับรถยนต์
3. ขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรสและหย่า
4. กรณีบิดามารดาอาศัยอยู่ในประเทศจีน และประสงค์ให้ผู้อื่นพาบุตรไปทำหนังสือเดินทางที่กระทรวงการต่างประเทศไทย
5. ดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับที่ดิน

สามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือมอบอำนาจได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อมอบอำนาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งไปดำเนินการแทนที่หน่วยงานราชการไทย

    โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

  • หนังสือมอบอำนาจ แบบฟอร์ม (ลงรายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่)
  • หนังสือเดินทางหรือบัตรประชาชน* (ฉบับจริงและสำเนา) ของผู้มอบอำนาจ
  • บัตรประจำตัวประชาชน* (สำเนา) ของผู้รับมอบอำนาจ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  • เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการมอบอำนาจ
* กรณีที่เป็นคนไทย สามารถใช้บัตรประชาชนแทนได้
 
ค่าธรรมเนียม : 125 หยวน / ฉบับ (ชำระเป็นเงินสด หรือ Alipay)

          用于孩子未达到法定年龄(20岁以下)。若父母不能带孩子到泰国外交部申请护照可以向泰王国驻华大使馆提交授权委托书。

父亲/母亲(泰国国籍)的文件

  • 授权委托书  下载委托书
  • 护照* (原件/复印件)
  • 身份证 (原件复印件)
  • 泰国户口本复印件
  • 变更姓名证书(如有)
  • 结婚证复印件/离婚证复印件

父亲/母亲(其他国籍)的文件

  • 护照 (原件/复印件)

孩子的文件

  • 护照首页复印件
  • 出生证复印件
  • 身份证复印件
  • 泰国户口本复印件(如有)
  • 变更姓名证书(如有)

申请费用 :125元/份(现金或支付宝支付)

          Minor applicants (under 20 years old) who either one of the parents can’t present themselves for passport application in Thailand can request to apply for the letter of consent or power of attorney and authorize at the embassy.

Documents required for Thai nationality parents

    1. Letter of consent  DOWNLOAD FORM
   2. Valid Passport (Original and 1 photocopy)
   3. Valid Thai ID card (Original and 1 photocopy)
   4. A photocopy of the house registration document
   5. A photocopy of the marriage certificate/divorce certificate/family registration

Documents required for Non-Thai nationality parents

1. Valid Passport (Original and 1 photocopy)

Documents required for child

1. A photocopy of current passport
2. A photocopy of Thai ID card
3. A photocopy of house registration document
4. A photocopy of name/surname change registration certificate

Fees : 125 RMB per official seal (Payable with cash and Alipay)

ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์

         หากต้องการจดทะเบียนรับเด็กที่อายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ เป็นบุตรบุญธรรม สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
 Tel : 66 2354 7509
 Tel : 66 2354 7511 หรือทางเว็บไซต์ www.adoption.dsdw.go.th

ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป

          หากต้องการจดทะเบียนรับเด็กที่บรรลุนิติภาวะแล้วเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายไทย ผู้รับบุตรบุญธรรมจะต้องอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และมีอายุมากกว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี ทั้งนี้ ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม และคู่สมรสของทั้งสองฝ่ายจะต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง และสถานเอกอัครราชทูตฯ จะนัดให้มาจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมอีกครั้งหลังจากยื่นคำร้องประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

เอกสารของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

  1. แบบฟอร์มลงทะเบียนคนไทยที่เข้ารับบริการที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
  2. บันทึกการสอบสวน สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
  3. หนังสือเดินทางฉบับจริง
  4. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง 
  5. ทะเบียนบ้านฉบับจริง 
  6. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลตัวจริง หากเคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลมาก่อน 
  7. รูปถ่ายสี ขนาด 3 x 4 ซ.ม. 1 รูป
  8. กรณีจดทะเบียนสมรส ต้องนำใบสำคัญการสมรสตัวจริงหรือทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวสมรส และคู่สมรสจะต้องมาลงลายมือชื่อที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
    (หากคู่สมรสอยู่ที่ประเทศไทย ต้องมีหนังสือให้ความยินยอมจากคู่สมรสออกโดยอำเภอไทย ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศไทยแล้วไม่เกิน 3 เดือน) โดยคู่สมรสจะต้องเตรียมเอกสารและรูปถ่ายเช่นเดียวกันกับผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
  9. กรณีจดทะเบียนหย่า ใบสำคัญการหย่าตัวจริงหรือทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวหย่า
  10. หนังสือรับรองความเป็นโสดออกโดยอำเภอไทย กรณีที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรองว่าไม่เคยสมรสกับผู้ใด ภายหลังการหย่าแทน โดยต้องผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศไทยแล้วไม่เกิน 3 เดือน พร้อมสำเนา 1 ชุด
  11. พยาน 2 คน กรุณาเตรียมเอกสารในข้อ 3. – ข้อ 5. มาด้วย

เอกสารของคนจีนที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

  1. แบบฟอร์มลงทะเบียนคนไทยที่เข้ารับบริการที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
  2. บันทึกการสอบสวน สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
  3. หนังสือเดินทางฉบับจริง
  4. ทะเบียนครอบครัวจีน หรือฉบับจริง ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศจีนไม่เกิน 3 เดือน
  5. หนังสือรับรองการทำงาน ผ่านการประทับตรารับรองจากโนตารีพับลิค กระทรวงการต่างประเทศจีนไม่เกิน 3 เดือน
  6. หนังสือรับรองเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน ผ่านการประทับตรารับรองจากโนตารีพับลิคและกระทรวงการต่างประเทศจีนไม่เกิน 3 เดือน
  7. หนังสือรับรองการเสียภาษี ออกโดยที่ว่าการอำเภอจีน
  8. รูปถ่ายสี ขนาด 3 x 4 ซ.ม. 1 รูป
  9. กรณีจดทะเบียนสมรส คู่สมรสจะต้องมาลงลายมือชื่อเพื่อให้ความยินยอมที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
    โดยต้องเตรียมเอกสารในข้อ 3. และ ข้อ 8. หากคู่สมรสเป็นบุคคลสัญชาติไทย จะต้องเตรียมเอกสารในข้อ 3. – ข้อ 9. เช่นเดียวกันกับผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
    คำร้อง , บันทึกการสอบสวน

 หลักฐานและเอกสารยื่นประกอบ

 

ขั้นตอนการขอนิติกรณ์เอกสารสำเร็จการศึกษา

  • นำเอกสาร (ใบปริญญา ใบวุฒิและใบ transcript) ไปแปลและรับรองที่สำนักงาน Notary Public(公证处) ในมณฑล/เมืองที่อยู่ ซึ่งจะได้รับ 公证书 * เอกสาร 1 รายการต้องทำอย่างน้อย 2 ชุด (เนื่องจากสถานเอกอัครราชทูตจะต้องเก็บไว้เป็นหลักฐาน 1 ชุด)
  • นำ 公证书ไปทำนิติกรณ์ที่สำนักงานต่างประเทศของแต่ละมณฑล/เมืองนั้น ๆ (外交部/外事办) โดยขอยื่นทำนิติกรณ์ของกระทรวงการต่างประเทศจีน หรือที่เรียกว่า “单认证”
  • นำ 公证书ที่ผ่านการทำ “单认证” แล้วมาทำนิติกรณ์ของสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือที่เรียกว่า “双单认证”

ค่าธรรมเนียม : 125 หยวน / ฉบับ (ชำระเป็นเงินสด หรือ Alipay)

Group 96

เอกสารอื่น ๆ

กรณีมีความประสงค์ให้สถานเอกอัครราชทูตรับรองเอกสารจากไทยเพื่อใช้ในประเทศจีน ผู้ร้อง จะต้องนำเอกสารดังกล่าวไปรับรองนิติกรณ์และแปลที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล (หรือจุดบริการที่กรมการกงสุลกำหนดกำหนด) ก่อน เนื่องจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่มีอำนาจในการรับรองเอกสารโดยตรง

ตัวอย่าง เช่น

  • เอกสารที่เกี่ยวกับทะเบียนราษฎร ทะเบียนครอบครัว และเอกสารเกี่ยวกับบุคคล เช่น สูติบัตร มรณบัตร ทะเบียนสมรส ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนหย่า ใบสำคัญการหย่า ทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน ใบเปลี่ยนชื่อ ใบเปลี่ยนสกุล หนังสือรับรองความเป็นโสด เป็นต้น
  • เอกสารเกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น ทะเบียนนิติบุคคล ใบทะเบียนการค้า ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิ รายชื่อผู้ถือหุ้น รายงานการตรวจสอบบัญชีงบดุล ใบเสร็จชำระภาษี เป็นต้น
  • เอกสารทางการศึกษา เช่น ใบสุทธิประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร หนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษา เป็นต้น
  • เอกสารอื่น ๆ เช่น เอกสารสัญญา หรือเอกสารทางศาล หนังสือมอบอำนาจ ใบอนุญาตจัดหางานไปทำงานต่างประเทศ ใบอนุญาตขับขี่ เป็นต้น