พิธีเปิดป้าย
วันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2564 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ เขตธุรกิจหงเฉียวอาคาร Hongqiao Overseas Trade Center 5th floor Room 504, Lihpao Plaza, Shenwu Rd., 159, Minhang District, Shanghai, China เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง นายอรรถยุทธ์ ศรีสมุทรและภริยาเป็นประธานพิธีเปิดสำนักงานของสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย ณ นครเซี่ยงไฮ้ และผลิตภัณฑ์วิสาหกิจไทยชุดแรกเข้าสู่สำนักงานฯ โดยมี MR. MIN SHILIN เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์คณะกรรมการบริหารเขตธุรกิจหงเฉียวนครเซี่ยงไฮ้ MR. JIN GUOJUN รองผู้อำนวยการคณะกรรมการบริหารเขตธุรกิจหงเฉียวนครเซี่ยงไฮ้ MS. WANG JUE ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการชาวจีนโพ้นทะเลนครเซี่ยงไฮ้ นายกิตติพันธุ์ แจ่มประวิทย์ ผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย (ประเทศจีน) จำกัด สาขานครเซี่ยงไฮ้ MR. WANG YIN นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรม”หวงตี้เน่ยจิง”โลก MR. HUANG HEMING ผู้อำนวยการสำนักงานพาณิชย์เซี่ยเหมิน MR. XIE WEI ผู้อำนวยการฝ่ายทะเบียนสำนักงานบริหารNGOsต่างประเทศของกรมความมั่นคงสาธารณะนครเซี่ยงไฮ้ นายวิชัย จางหยาง นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทยร่วมในพิธี
เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง นายอรรถยุทธ์ ศรีสมุทร กล่าวว่า พิธีในงานครั้งนี้มีหลายหน่วยงานเข้าร่วม แสดงให้เห็นว่าหลายคนให้ความชื่นชอบประเทศไทย และพร้อมที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย ณ นครเซี่ยงไฮ้ เป็นเรื่องที่ดีเพราะว่าชาวไทย และชาวจีนมีความใกล้ชิดกัน มีความเข้าใจกัน และมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน สำนักงานนี้ เป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนความร่วมมือ การค้าการลงทุนระหว่างประเทศไทย และประเทศจีน จะช่วยในการเผยแพร่สินค้าไทยที่มีวัตถุประสงค์เข้าสู่ตลาดจีน ศูนย์การค้าต่างประเทศหงเฉียว (Hongqiao Overseas Trade Center) ถือเป็นเวทีที่น่าชื่นชม สามารถกระตุ้นให้เขตธุรกิจหงเฉียว นครเซี่ยงไฮ้มีการค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น โดยให้พื้นที่ทำงาน และแสดงสินค้าแก่องค์กรต่างประเทศที่เปิดสาขาที่ศูนย์การค้าฯ และต้องขอบพระคุณคณะกรรมการบริหารเขตธุรกิจหงเฉียว นครเซี่ยงไฮ้ และแขกผู้มีเกียรติทุกท่านที่มาร่วมงานในครั้งนี้เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างไทย-จีน
ทั้งนี้ สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย เป็นองค์กรเอกชนซึ่งจดทะเบียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2557 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมมิตรภาพ ความสามัคคี และความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย – จีน รวมทั้งส่งเสริมให้สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย – จีน ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างองค์กรทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และสาธารณกุศลต่าง ๆ
สำนักงานสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย ณ นครเซี่ยงไฮ้
โดยในปี 2562 สมาคมฯ ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลท้องถิ่นนครเซี่ยงไฮ้ ให้ตั้งสำนักงานในเขตหงเฉียว นครเซี่ยงไฮ้ ภายใต้สังกัดคณะกรรมการบริหารเขตธุรกิจหงเฉียว นครเซี่ยงไฮ้ โดยการควบคุมของสำนักงานบริหารองค์กรเอกชนต่างประเทศของรัฐบาลท้องถิ่นนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งสำนักงานฯ ของสมาคมฯ นี้ เป็นสมาคมไทยแห่งแรกที่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยรัฐบาลท้องถิ่นนครเซี่ยงไฮ้ มีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมการสร้างประโยชน์ของการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศสู่ตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างสูงสุด และขับคลื่อนการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศที่นำเข้าสินค้าตามเส้นทาง One Belt One Road โดยสำนักงานสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย ณ นครเซี่ยงไฮ้เป็นหนึ่งในองค์กรจาก 60 ประเทศทั่วโลก ที่ได้ตั้งสำนักงาน และโชว์รูมสินค้าในเขตธุรกิจเซี่ยงไฮ้หงเฉียว ซึ่งสมาคมฯ เป็นหนึ่งในองค์กรพัฒนาเอกชนจากต่างประเทศที่ได้รับเชิญ เพื่อส่งเสริม และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและหน่วยงานของประเทศไทยที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศสู่ตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน และเพื่อเป็นแพลตฟอร์มให้กับผู้ประกอบการ และนักลงทุนจีนให้เข้าใจสภาพแวดล้อมการลงทุน นโยบาย กฎ และระเบียบของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการลงทุนของทั้งสองประเทศ และทั่วโลก ซึ่งสำนักงานสมาคมฯ ประจำนครเซี่ยงไฮ้ ได้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงปัญหา และไม่นิ่งเฉยต่อสถานการณ์ดังกล่าว รวมทั้งให้บุคลากรของสำนักงานสมาคมฯ เป็นตัวเชื่อมธุรกิจระหว่างไทย – จีนด้วย
แขกผู้มีเกียรติทุกท่านเดินชมสำนักงานของสมาคมฯ:
เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง นายอรรถยุทธ์ ศรีสมุทร มอบหนังสือแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาของสมาคมฯ:
เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง นายอรรถยุทธ์ ศรีสมุทร มอบหนังสือขอบคุณแก่ทีมอาสาสมัครที่สนับสนุนก่อตั้งสำนักงานเซี่ยงไฮ้ของสมาคมฯ เพื่อร่วมทำประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างไทย-จีน :
นอกจากนี้ เมื่อ 4 มกราคม 2564 เอกอัครราชทูตฯ ได้เดินทางไปประชุมหารือกับคณะนักธุรกิจไทยในนครเซี่ยงไฮ้ นำโดยนายวิชัย ทวีศิลป์ รองประธานหอการค้าไทยในจีน และคณะนักธุรกิจ รวมกว่า 20 ราย เพื่อหารือแนวทางการทำงานและส่งเสริมความร่ามมือภาคธุรกิจระหว่างไทยและจีนโดยเฉพาะในช่วงที่ภาคเศรษฐกิจมีความชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด 19