ข้อแนะนำสำหรับคนไทยในการเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

ข้อแนะนำสำหรับคนไทยในการเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

ข้อแนะนำสำหรับคนไทย
ในการเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

1. เก็บหนังสือเดินทางไว้กับตนเอง ไม่ฝากไว้กับผู้อื่น โดยเก็บไว้ในที่ที่สามารถหยิบได้ทันทีในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน รวมทั้ง คอยต่ออายุวีซ่าเมื่อวีซ่าใกล้หมดอายุลง เพื่อให้สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ทันทีหากจำเป็น
2. พกเบอร์ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ไว้กับตัวตลอดเวลา
3. พยายามเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในชุมชนคนไทยอย่างสม่ำเสมอ และแลกเบอร์ติดต่อกับแกนนำชุมชน (เช่น ประธานนักเรียน) เพื่อให้ได้รับการอัพเดทข่าวสารทันท่วงที
4. ตรวจสอบอุปกรณ์สื่อสาร และยานพาหนะ (หากมี) ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา และควรมีแผนที่ของเมืองที่อยู่ติดไว้ที่บ้านหรือติดตัวไว้ด้วย
5. สำรองอาหารแห้งและอาหารกระป๋อง
6. ติดตามข่าวสารบ้านเมืองอยู่เสมอ
7. ศึกษาแผนช่วยเหลือ/อพยพคนไทย ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินการของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน (ดังแนบ)

หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินควรทำอย่างไร

1. หากได้รับแจ้งว่ามีสถานการณ์ฉุกเฉินควรติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ทันที หรือแจ้งให้แกนนำคนไทยทราบ
2. เตรียมหนังสือเดินทางและแผนที่ให้พร้อม ในระหว่างรอการประสานเพื่อนัดพบหากจำเป็นต้องขนย้ายคนไทยออกจากพื้นที่
3. กระจายข่าวให้บุคคลที่ตนรู้จักทราบโดยทั่วกัน

เพิ่มเติมสำหรับแกนนำคนไทย

1. ควรปรับปรุงทะเบียนรายชื่อและเบอร์ติดต่อของคนไทยในท้องที่อยู่เสมอ
2. สำรวจที่ที่สามารถนัดพบได้ในกรณีที่ต้องอพยพ โดยควรเป็นที่ที่สะดวกในการเดินทาำงสำหรับคนส่วนมากในท้องที่ และควรเป็นที่ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
3. สำรวจอุปกรณ์สื่อสารให้ใช้ได้เสมอ และมีเบอร์มือถือที่ติดต่อ จนท. สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ตลอดเวลา

แผนช่วยเหลือและอพยพคนไทย ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง
กรณีเกิดวิกฤติการณ์ทางการ เมืองหรือสงคราม

การเตรียมความพร้อม 4 ระดับ

ระดับ ๑ (สีเขียว) การเตรียมความพร้อมในสภาวะปกติ
ปัจจัยบ่งชี้ สถานการณ์ปกติ
ปัจจัยควบคุม สถานการณ์ปกติ
เป้าหมาย เตรียมความพร้อมของ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง และผู้เกี่ยวข้อง
1. ตรวจสอบอุปกรณ์สื่อสารให้ใช้ได้ดีเสมอ
2. ปรับปรุงทะเบียนรายชื่อคนไทย / ที่ติดต่อ
3. จัดตั้งเครือข่ายติดต่อกับคนไทย เช่น ผ่านสมาคม สื่อต่าง ๆ วัด หัวหน้าแคมป์ / หัวหน้าแรงงานไทย
4. จัดทำรายชื่อ หมายเลข โทรศัพท์ติดต่อสำคัญ ได้แก่ หมายเลข หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง โรงพยาบาล สายการบิน สถานีตำรวจ แกนนำคนไทย (ปรับปรุงทุก ๖ เดือน)
5. สร้างความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
6. ศึกษากรณีต้องอพยพคนไทย อาทิ จุดนัดพบ เส้นทางอพยพ
7. จัดทำเส้นทางเดินทางกรณีอพยพ อาทิ ทางเครื่องบินจากจุดใดไปที่ใด มีสายการบินใดให้บริการ / เวลาใดบ้าง จัดทำเส้นทางสำรอง กรณีไม่สามารถเดินทางโดยเครื่องบินจากพื้นที่ อาทิ ต้องเดินทางโดยรถยนต์ไปเมืองใด เพื่อขึ้นเครื่องบิน หรือไปยังชายแดน
8. ประชาสัมพันธ์แผนอพยพให้ชุมชนไทยทราบ และหรือนำแผนขึ้นเว็บไซต์ของ สถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ หรือ ที่อยู่อีเมล์ ที่ประชาชนติดต่อได้

ระดับ ๒ (สีเหลือง) การเตรียมความพร้อม เมื่อมีสิ่งบอกเหตุ
ปัจจัยบ่งชี้ เริ่มมีข่าวความไม่สงบ ข้อพิพาทหรือการปะทะ
ปัจจัยควบคุม รัฐบาลท้องถิ่นยังควบคุมสถานการณ์ได้ การดำเนินชีวิตเป็นไปตามปกติ
เป้าหมาย คนไทยรับทราบสถานการณ์ รับทราบจุดติดต่อ เตรียมพร้อมเดินทางออกนอกประเทศ ห้ามเตือนคนไทยที่จะเดินทางไปประเทศเป้าหมาย
1. ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด
2. เร่งประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนไทยทราบถึงและตระหนักถึงแผนอพยพของสถานเอกอัครราชทูตฯ และเตรียมพร้อมซักซ้อมการสื่อสารกับเครือข่ายคนไทยที่กำหนด
3. แจ้งข่าวให้คนไทยในพื้นที่เตรียมเอกสารเดินทางให้พร้อมเดินทาง รวมถึงวีซ่าประเทศที่อาจต้องเดินทางไปพักพิง เตรียมตัว / ทรัพย์สิน หากต้องอพยพออกนอกประเทศ
4. ซักซ้อมมาตรการ รปภ.ของสถานเอกอัครราชทูตฯ
5. ซักซ้อมกรณีต้องอพยพคนไทย อาทิ จุดนัดพบ เส้นทาง อพยพทางบก เรือ อากาศ

ระดับ ๓ (สีส้ม) กรณีเกิดความไม่สงบในประเทศที่เริ่มส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย
ปัจจัยบ่งชี้ เกิดความไม่สงบเป็นระยะ มีการปะทะระหว่างกลุ่มต่าง ๆ มีแนวโน้มขยายตัวเป็น วงกว้าง
ปัจจัยควบคุม รัฐบาลท้องถิ่นกำลังสูญเสียการควบคุม การดำรงชีวิตไม่เป็นปกติ บริการภาครัฐ มีจำกัด แต่การคมนาคมเชิงพาณิชย์ยังเปิดดำเนินการ อาจเริ่มลดเที่ยวบิน
เป้าหมาย ให้คนไทยที่ไม่มีความจำเป็นต้องอยู่ในประเทศ เดินทางออกนอกพื้นที่ให้มากที่สุด ขณะที่การบริการคมนาคมเชิงพาณิชย์ยังเป็นปกติอยู่ โดยเฉพาะ เด็ก สตรี และคนชรา
1. ติดตามข่าวสารใกล้ชิด / ประเมินสถานการณ์ ทั้งจากข่าวสาร การหารือกับ สถานทูตสถานกงสุลมิตรประเทศ และการสำรวจ (หากสถานการณ์อำนวย)
2. ประสานรัฐบาลประเทศเจ้าบ้าน เพิ่มมาตรการ รปภ. สถานที่
3. หารือ สถานทูตสถานกงสุลมิตรประเทศเกี่ยวกับแนวทางการให้ความช่วยเหลือคนชาติ
4. สถานเอกอัครราชทูตฯ ตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือคนไทย และประชาสัมพันธ์เรื่องสถานการณ์ภายในประเทศที่ตั้งอยู่ให้ชุมชนไทยและผู้ ประสานงานชุมชนไทย หรือ หัวหน้าแรงงานไทยทราบทุกระยะ (กระทรวงการต่างประเทศตั้งศูนย์ประสานงาน)
5. สถานเอกอัครราชทูตฯ สำรองเงินสดในมือกรณีฉุกเฉิน
6. สถานเอกอัครราชทูตฯ สำรองอาหาร / เวชภัณฑ์ / สิ่งจำเป็นอื่น ๆ ให้เพียงพอกับจำนวนคนไทยที่อาจจำเป็นต้องมาพำนักชั่วคราวในสถานเอกอัครราชทูตฯ
7. แจ้งข่าวคนไทยในพื้นที่ ให้เดินทางออกนอกพื้นที่ให้มากที่สุด ขณะที่การบริการคมนาคมเชิงพาณิชย์ยังเป็นปกติอยู่ โดยเฉพาะ เด็ก สตรี และคนชรา
8. แจ้งเตือนคนไทยให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่
9. จัดหาอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกันได้ ๒๔ ชั่วโมง
10. ประสานรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อชักซ้อมกรณีต้องอพยพ
11. ประสานการบินไทยเพื่อสำรองที่นั่งให้แก่คนไทย
12. กำหนดแผนอพยพคนไทย โดยแจ้ง / หารือกระทรวงการต่างประเทศ ว่ามีคนไทยเหลืออยู่จำนวนเท่าใด จะอพยพคนไทยที่เหลือไปประเทศที่สามหรือกลับประเทศไทย ต้องใช้เครื่องบินพิเศษไปรับคนไทยหรือไม่

ระดับ ๔ (สีแดง) : กรณีเกิดความไม่สงบ ส่งผลกระทบต่อผู้พำนักในประเทศจนถึงขั้นต้องอพพยคนไทยออกนอกประเทศ
ปัจจัยบ่งชี้ เกิดความไม่สงบรุนแรงต่อเนื่อง เกิดความขาดแคลนอาหารและสาธารณูปโภค มีการปล้มสดมภ์ ไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
ปัจจัยควบคุม รัฐบาลท้องถิ่นควบคุมสถานการณ์ได้ในวงจำกัด คาดว่าจะเกิดสงครามในระยะเวลาอันใกล้ สายการบินพาณชย์ให้บริการในวงจำกัด หรือยกเลิกทำการบิน
เป้าหมาย อพยพคนไทยที่เหลืออยู่ออกนอกพื้นที่ ปิดที่ทำการ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ชั่วคราว
1. ตั้งศูนย์อพยพคนไทย (กระทรวงการต่างประเทศตั้งศูนย์ประสานงาน) ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนไทย และหรือ หัวหน้าแรงงานไทยทราบตลอดเวลา
2. ให้คนไทยที่สามารถเดินทางได้เองเดินทางออกนอกพื้นที่ในทันที
3. แจ้งประเทศเจ้าบ้านว่าจะอพยพคนไทยและขอรับการสนับสนุนตามแผนอพยพ (เท่าที่จะให้ได้) โดยเฉพาะการ รปภ. ระหว่างอพยพคนไทยการ รปภ. สถานเอกอัครราชทูตฯ
4. ประสานใกล้ชิด กับ สถานทูต/สถานกงสุลมิตรประเทศถึงแผนอพยพและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

—————–

SHARE