แผนช่วยเหลือคนไทยกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

แผนช่วยเหลือคนไทยกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

แผนช่วยเหลือคนไทยกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง

ฉบับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555

****************************

1. การอพยพคนไทยออกจากกรุงปักกิ่งกลับประเทศไทย หรือ ไปที่อื่น —————————————————————— หน้า 2

1.1. สถานการณ์สีเหลือง (กรณีเริ่มมีภัย แต่ยังไม่ถึงขั้นอพยพ)

1.2. สถานการณ์สีส้ม (กรณีต้องอพยพ โดยผ่านช่องทางการคมนาคมปกติ)

1.3. สถานการณ์สีแดง (กรณีต้องอพยพ โดยไม่สามารถใช้ช่องทางการคมนาคมปกติได้ และต้องจัดหายานพาหนะเพื่อลำเลียงคนออก)

2. การอพยพคนไทยจากประเทศ หรือ พื้นที่ใกล้เคียงมายังกรุงปักกิ่ง —————————————————————— หน้า 6

****************************


1. การอพยพคนไทยออกจากกรุงปักกิ่งกลับประเทศไทย หรือ ไปที่อื่น

การดำเนินการ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ

สถานการณ์สีเหลือง

กรณีภัยธรรมชาติ หรือโรคระบาดหมายถึง ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนได้รับผลกระทบแต่ยังสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างไม่ลำบากนัก ในกรณีภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ทำให้ผู้คนได้รับความลำบากเสียหาย แต่ยังไม่ถึงกับไร้ที่อยู่ หรือมีการรายงานการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ ในสื่อมวลชนจีน มีการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์ต่าง ๆ แต่ยังไม่มีการระบาดจากสัตว์สู่คน

กรณีภัยจากการจลาจลและการสู้รบหมายถึง เริ่มมีการรวมตัวกันตามที่สาธารณะมีการทำลายสมบัติสาธารณะหรืออาคารทรัพย์สิน มีการปะทะกันของเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน หากเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศ เริ่มมีการปะทะกัน มีการสู้รบ ประชาชนและมีแนวโน้มจะลุกลามขึ้น

1) สอท. ประสานกับหน่วยงานของจีนเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยตามแต่กรณีและติดตามกระแสสถานการณ์ของภัยจากแหล่งเตือนภัยของจีนเป็นสำคัญ (ในกรณีของโรคระบาด สอท. จะประสานกับหน่วยงานของจีนอย่างใกล้ชิด เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์การระบาด ออกประกาศเผยแพร่แจ้งเตือนคนไทยในพื้นที่การระบาดถึงแนวทางดูแลสุขภาพและป้องกันโรคระบาด)

2) สอท. แจ้งเตือนให้คนไทยทราบผ่านแกนนำคนไทยในมณฑลต่าง ๆ ตลอดจนช่องทางอื่น ๆ เช่น ประกาศในเว็บไซต์ สอท. พร้อมทั้งแจกจ่ายข้อมูลสำหรับกรณีที่สถานการณ์รุนแรงขึ้น เช่น หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ Contact persons จุดนัดพบ และรวบรวมผู้คนเพื่อเตรียมพร้อมในการอพยพ

3) มีโทรเลขแจ้ง กต.

4) อาจออกแถลงการณ์เตือนภัย (Travel Advisory) ตามความเหมาะสม

5) สอท. ทีมประเทศไทย และ สกญ. ในจีน ติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นทางโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อต่าง ๆ และจัดประชุมทีมประเทศไทย เพื่อร่วมกันประเมินสถานการณ์ และกำหนดการปฏิบัติตามความจำเป็น

ทีมประเทศไทย

สถานการณ์สีส้ม

กรณีภัยธรรมชาติ หรือโรคระบาดหมายถึง ชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนได้รับผลกระทบอย่างมากจนไม่สามารถอาศัยอยู่ในบริเวณนั้นได้ ในกรณีภัยธรรมชาติอาจอยู่ในรูปแบบของน้ำท่วมฉับพลันหรือแผ่นดินไหวรุนแรง แต่การเดินทางออกนอกพื้นที่ยังสามารถกระทำได้ ในกรณีที่เกิดโรคระบาด อาจจะมีการแพร่ระบาดในวงกว้าง และมีการระบาดจากสัตว์ไปสู่คนและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น

กรณีภัยจากการจลาจลและการสู้รบหมายถึง มีการสู้รบอย่างชัดเจนระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชน หรือการสู้รบกันระหว่างประเทศ แต่ยังไม่มีการปิดน่านฟ้า น่านน้ำ หรือพรมแดน การคมนาคมทางพาณิชย์ยังดำเนินการได้อยู่

1. ดำเนินการตามแนวทางของสถานการณ์สีเหลือง

2. ดูแลช่วยเหลือคนไทยที่ประสบภัยโดยประสานกับหน่วยงานของจีน เพื่อให้ผู้ประสบภัยใช้บริการฉุกเฉินของจีนที่จัดไว้สำหรับผู้ประสบภัย

3. สอท. เป็นศูนย์กลางประสานงานในการส่งคนไทยที่มีความต้องการกลับประเทศไทยหรือย้ายไปพื้นที่ปลอดภัยอื่น

4. ติดต่อประสานงานรัฐบาลไทย เพื่อแจ้งให้ทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนขอทราบแนวทางในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และแจ้งหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการอพยพคนไทยในจีน เช่น การบินไทย กองทัพอากาศ กองทัพเรือ ในการเตรียมสถานที่และยานพาหนะในการเคลื่อนย้าย

5. สอท. กำหนดจุดนัดพบและแจ้งให้คนไทยในพื้นที่ (ผ่านแกนนำคนไทย โทรศัพท์ และ Email คนไทยในฐานข้อมูล) เดินทางออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยด้วยตนเอง โดยอาจมารวมตัวในที่กรุงปักกิ่ง หรือพื้นที่ที่ปลอดภัย โดยติดต่อประสานงานกับ สอท. ต่างประเทศ สถานที่ราชการ โรงแรม หรือกลุ่มธุรกิจของคนไทยในพื้นที่ เพื่อขอใช้สถานที่ในการหลบภัยหรืออาจใช้เป็นที่รวมพลของคนไทยในกรณีจำเป็น

6. จนท. คลังเบิกเงินเพื่อเตรียมสำรองจ่าย ทั้งนี้ อาจต้องเจรจากับธนาคารเพื่อให้ขอเบิกเงินเกินเพดานที่กำหนดไว้ในแต่ละวันได้

7. สอท. จัดหาที่พัก น้ำ อาหารแห้ง ไฟฉาย กาต้มน้ำ ภาชนะใส่น้ำและอาหาร เครื่องขยายเสียง เครื่องมือปฐมพยาบาล เสื้อหนาว เครื่องนุ่งห่ม ที่ชาร์จแบตเตอรี่มือถือ และเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นอื่น ๆ ไปที่ค่ายเพื่อให้ดำรงชีวิตได้อย่างน้อย 2 วัน และจัดให้มีโทรศัพท์สำหรับติดต่อญาติด้วย

8. ลำเลียงคนไทยออกจากพื้นที่อันตรายให้มากที่สุด โดยให้คนไทยที่พร้อมเดินเคลื่อนย้าย เดินทางออกไปยังพื้นที่ปลอดภัยในประเทศใกล้เคียง หรือกลับประเทศไทยตามสถานการณ์ โดยใช้ช่องทางคมนาคมที่รวดเร็วและปลอดภัยที่สุด โดยมี สกญ. ทั้ง 8 แห่ง เป็นผู้ประสานงานในการส่งคนไทยออกนอกพื้นที่อันตรายและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทาง รวมทั้งจัดยานพาหนะเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น

9. กรณีที่ต้องเดินทางออกนอกประเทศ ประสาน ตม. จีนเพื่อเตรียมเรื่องพิธีการตรวจคนเข้าเมืองไว้ล่วงหน้า

10. สอท. จัดทำทะเบียนรายชื่อของผู้อพยพ โดยให้ผู้ที่มีความประสงค์จะอพยพ (ไม่ว่าภายใน หรือระหว่างประเทศ) ลงนามแจ้งความจำนงไว้ก่อน เพื่อป้องกันการร้องเรียนในภายหลัง สำหรับผู้ที่สามารถเดินทางได้แต่ปฏิเสธการเดินทางไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดนั้น สอท. จะให้คำแนะนำว่า ควรจะไปรวมตัวที่ใด และแจ้งให้ทราบว่า หากไม่ปฏิบัติตามจะ สอท. จะไม่รับผิดชอบในความปลอดภัย หากไม่เดินทางออกนอกพื้นที่อันตราย

11. สอท. อาจพิจารณาจัดตั้งห้องปฏิบัติการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยใช้วิธีผลัดเวรประจำการ 24 ชม. เพื่อ

11.1 ติดตามข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด

11.2 วิเคราะห์สถานการณ์โดยการประสานอย่าใกล้ชิดกับฝ่ายรัฐบาลจีน สอท.ประเทศที่สำคัญ สอท. และหน่วยงานในประเทศใกล้เคียง

11.3 ติดต่อหน่วยงานของจีนที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการดังนี้

– แจ้งหน่วยงานจีนให้ทราบถึงแนวทางการอพยพคนไทยในจีน

– ขอความร่วมมือหน่วยงานจีนในการปฏิบัติตามแผนอพยพคนไทยในจีน

– ซักซ้อมความพร้อมของหน่วยงานจีนในการให้ความช่วยเหลือการอพยพคนไทย

– ติดต่อสื่อต่างๆ ของจีนเพื่อขอความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลถึงคนไทยในจีน

– กรณีจลาจล ร้องขอกำลังรักษาความปลอดภัยมาป้องกันคุ้มครอง สอท. หากมีความจำเป็น

11.4 ประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่าน Website สอท.

11.5 เป็น Call centre ประสานงานตอบคำถามและรับเรื่องร้องทุกข์จากญาติ ผ่าน hotline และ MSN ตลอด 24 ชม.

12. ประสานกับ สอท. ไทยในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อกำหนดจุดโยกย้าย ในกรณีที่มีการอพยพคนไทยจากประเทศเหล่านั้นมาประเทศจีนก่อน

13. ในกรณีของโรคระบาด สอท. ออกประกาศเผยแพร่แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา และการเตรียมการอพยพหากมีความจำเป็นเตือนคนไทยในพื้นที่การระบาด โดยประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขของจีนในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเป็นส่วนรวม และอาจจัดเตรียมหน่วยแพทย์ไว้ตามความเหมาะสม

ทีมประเทศไทย

กต.จีน

ไว่ป้านท้องถิ่น

ก.สาธารณสุขจีน/โรงพยาบาลท้องถิ่น

ตม.จีน (กรณีอพยพออก)

การบินไทย (กรณีอพยพออก)

สายการบินท้องถิ่น/ บริษัทรถเช่า/ บริษัทเรือเช่า (กรณีอพยพออก)

ข้อ 4 อาจขอให้ กต. ส่ง จนท. ที่พูดภาษาจีนได้มาสมทบ

ข้อ 6 เงินที่สำรองไปทุกรายการสามารถขอเบิกคืนได้ โดย กต. ทำเรื่องขออนุมัติ ครม. ในภายหลัง

ข้อ 7 กรณีเคลื่อนย้ายคนมายังจุดรวมตัวไม่ได้ให้ จนท. นำสิ่งของที่จำเป็นตามข้อ 3.4 ไปตั้งค่าย ณ จุดที่คนไทยอยู่

ข้อ 12 ดูแผนอพยพคนจากพื้นที่ใกล้เคียงในหน้า 5

สถานการณ์สีแดง

กรณีภัยธรรมชาติ หรือโรคระบาดหมายถึง เกิดแผ่นดินไหวหรือน้ำท่วมรุนแรงมากจนทางการจีนไม่สามารถควบคุมหรือให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที ในกรณีโรคระบาดก็มีการระบาดเป็นวงกว้างจนไม่สามารถควบคุมได้ กอปรกับการขนส่งมวลชนหรือการคมนาคมสื่อสารถูกตัด ไม่สามารถเดินทางออกมานอกพื้นที่ได้

กรณีภัยจากการจลาจลและการสู้รบหมายถึง เกิดสงครามกลางเมือง รัฐบาลจีนไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และประกาศห้ามมิให้สายการบินพาณิชย์หรือการคมนาคมอื่นของเอกชนให้บริการ หรือมีการสู้รบอย่างเต็มรูปแบบระหว่างประเทศ และลุกลามไปถึงประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เกิดการสู้รบในวงกว้าง ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ช่องทางการคมนาคมทางพลเรือนไม่สามารถดำเนินการได้ จำนวนคนที่มีเหลือยู่ในพื้นที่อันตรายมีอยู่จำนวนไม่มาก สำหรับสอท.และสถานกงสุลใหญ่ก็จะเหลือแต่ผู้ที่จำเป็นปฏิบัติงานจริง ๆ เท่านั้น

1. ดำเนินการตามแนวทางของสถานการณ์สีส้ม

2. สอท. ติดต่อ กต. เพื่อขอให้ประสานให้รัฐบาลส่งยานพาหนะมารับคนไทยกลับประเทศ หรือย้ายไปพื้นที่ปลอดภัยอื่น รวมทั้งประสานรัฐบาลจีนให้ยานพาหนะจากไทยสามารถเดินทางเข้ามารับคนไทยที่เหลือทั้งหมดได้อย่างปลอดภัย

ทีมประเทศไทยกต.จีน

ไว่ป้านท้องถิ่น

ก.สาธารณสุขจีน/โรงพยาบาลท้องถิ่น

ตม.จีน

การบินไทย

สายการบินท้องถิ่น/ บริษัทรถเช่า/ บริษัทเรือเช่า

ท่าอากาศยาน/ท่าเรือ (กรณีต้องนำยานพาหนะเข้ามาจอด)

2. การอพยพคนไทยจากประเทศ หรือ พื้นที่ใกล้เคียงมายังกรุงปักกิ่ง

การดำเนินการ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ

1) ประสาน สอท. / สกญ. ในประเทศ หรือ พื้นที่ใกล้เคียงเพื่อกำหนดจุดนัดพบ และขอทราบเส้นทางและวิธีการขนย้าย ตลอดจน จำนวนคนทั้งหมด และจำนวนผู้ป่วย หรือผู้ที่ต้องการ คชล. เป็นพิเศษ (หากเป็นไปได้ขอทราบ ชื่อคนไทยทั้งหมด และประมาณการชาย หญิง เด็ก คนชรา)

สอท.

สอท. / สกญ. ประเทศ หรือ พื้นที่ใกล้เคียง

กต.

แจ้ง กต. ทราบ และอาจขอให้ส่งกำลัง จนท. ที่พูดภาษาจีนได้มาสมทบ หรือจัดอาสาสมัคร

2) ประสาน กต. จีน และ ตม. จีน เพื่อขออพยพคนไทยจากประเทศใกล้เคียงเข้ามาใน สปจ. ชั่วคราวโดยขอยกเว้นการตรวจลงตรา

สอท.

กต. จีน

ตม. จีน

กระทรวงรักษาความสงบภายใน

3) ดำเนินการตามแผนอพยพในสถานการณ์สีส้ม / สีแดง

**********************************************

หมายเหตุ

1. การบังคับบัญชา ออท. เป็นผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ควบคุม และสั่งการปฏิบัติเป็นส่วนรวม กรณี ออท. ไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ อท., ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร, อทป. ปฏิบัติหน้าที่ ควบคุม และสั่งการแทนตามลำดับอาวุโส ทั้งนี้ ในกรณีที่ สอท. ไม่ปลอดภัยหรือไม่สามารถใช้ปฏิบัติงานได้ เจ้าหน้าที่ สอท. จะเดินทางไปปฏิบัติงาน ณ สอท. สำรอง ได้แก่ โรงแรมใกล้เคียง เช่น China World หรือ Grand Millennium

2. การสื่อสาร การสื่อสารหลัก ได้แก่ ทางโทรศัพท์กรณีการสื่อสารทางโทรศัพท์ไม่สามารถติดต่อได้ให้ใช้เจ้าหน้าที่นำสารแทน

SHARE