ประเทศจีนมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว มีพลวัตรสูง และเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ (economic powerhouse) ของภูมิภาคและของโลก นับตั้งแต่ปี 2553 จีนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองลงมาจากสหรัฐฯ และมีเงินทุนสำรองมากที่สุดในโลก
เงินตรา | สกุลเงินเรียกว่า “เหรินหมินปี้” (人民币)โดยมีหน่วยเรียกเป็น “หยวน” (元) |
อัตราแลกเปลี่ยน | 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับประมาณ 6.90 หยวน (2562) 1 หยวน เท่ากับประมาณ 4.3 บาท (2562) |
14.36 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2562) ถือว่าเศรษฐกิจของจีนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก (รองจากสหรัฐอเมริกา)
10,276 ดอลาร์สหรัฐ (ปี 2562)
4,455 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2562)
3.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2562)
ร้อยละ 1.4 (ปี 2557)
ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม เยอรมนี อินเดีย เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ
ตลาดนำเข้าสินค้าที่สำคัญ
เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมนี บราซิล มาเลเซีย เวียดนาม
สินค้าออกที่สำคัญ
คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การสื่อสาร อุปกรณ์เครื่องจักรผลิตภัณฑ์เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ อาหาร รถยนต์ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์
สินค้าเข้าที่สำคัญ
น้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมัน อุปกรณ์เครื่องจักร ก๊าซธรรมชาติ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ แร่เหล็ก พลาสติกส์ เคมีภัณฑ์ ยา เนื้อสัตว์ ไม้ ผักและผลไม้
การลงทุนจากต่างประเทศ
ในส่วนของการลงทุนจากต่างประเทศ มูลค่าเงินลงทุนในจีน (FDI) มีมูลค่าประมาณ 1.38 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2562) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เป็นแหล่งรองรับเงินทุนต่างประเทศมากเป็นอันดับ 2 ของโลกในขณะที่จีนได้ไปลงทุนในต่างประเทศ (ยกเว้นด้านการเงิน) คิดเป็นมูลค่า 1.30 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (2562) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2
ผู้ลงทุนที่สำคัญ (2562)
สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน เนเธอร์แลนด์
ประเทศที่จีนไปลงทุน (2561)
สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา เยอรมนี เวียดนาม
การค้าระหว่างประเทศ
เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างต่อเนื่อในช่วง 30 ปีที่ดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศมาตั้งแต่ปี 2521 อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มการเติบโตที่ลดลงอันเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ ฯ (trade war) ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2561
จีนได้ปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และค่าเงินหยวนอย่างต่อเนื่องในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยนอกจากจะปรับปรุงเพื่อยกระดับมาตรฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้แข่งขันในโลกปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้นแล้ว ยังมีนัยทางการเมืองที่ต้องการแสดงความตั้งใจจริงของรัฐบาลจีนในการชะลอ และป้องกันภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไปและต้องการปรับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับสหรัฐ ฯ ซึ่งพยายามกดดันให้จีนปรับค่าเงินหยวน เพื่อลดการเสียดุลการค้า และปัญหาการว่างงาน นอกจากนี้ รัฐบาลจีนมีเป้าหมายที่จะเน้นผลผลิตทางการเกษตรให้พอเพียงสำหรับการบริโภคภายในประเทศโดยการเน้นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีระดับสูง เพื่อยกระดับการผลิตและการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมกัน
(1) เขตเศรษฐกิจจิง-จิน-จี้ (Beijing-Tianjin-Hebei Integration)
เขตเศรษฐกิจจิง-จิน-จี้ประกอบด้วยกรุงปักกิ่ง นครเทียนจิน และ 11 เมืองในมณฑลเหอเป่ย โดยมีจำนวนประชากรมากกว่าร้อยละ 8 ของจีนและปริมาณ GDP มากกว่าร้อยละ 10 ของจีน เมื่อปี 2557 จีนได้กำหนดการพัฒนาไปด้วยกันของกรุงปักกิ่ง-นครเทียนจิน-เหอเป่ยเป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติ โดยเน้นบทบาทที่เป็นเมืองหลวงของกรุงปักกิ่งและพัฒนากรุงปักกิ่งให้เป็นศูนย์กลางการเมือง ศูนย์กลางวัฒนธรรม ศูนย์การแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ และศูนย์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีของจีน ส่วนบทบาทที่ไม่ใช่เมืองหลวง (non-capital functions) จะย้ายไปอยู่นครเทียนจินและมณฑลเหอเป่ย เช่น โรงงานอุตสาหกรรมและตลาดขายส่งสินค้าต่าง ๆ เพื่อเป็นการบูรณาการศักยภาพของกรุงปักกิ่ง ท่าเรือเทียนจิน และทรัพยากรบุคคลของเหอเป่ยเพื่อทำให้เกิดศูนย์กลางเครือข่ายในด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า ปิโตรเคมี ซอฟต์แวร์ และอากาศยาน เป็นต้น รวมทั้งเพื่อเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาเมืองขนาดใหญ่ เช่น จราจรติดขัด และมลพิษทางอากาศ เป็นต้น
(2) แถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง (Yangtze River Economic Belt)
แถบเศรษฐกิจแยงซีเกียงประกอบด้วยมณฑลและเมืองใหญ่ตามลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงทั้งหมด 11 มณฑล/เมือง ได้แก่ นครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง มณฑลอันฮุย มณฑลเจียงซี มณฑลหูเป่ย มณฑลหูหนาน นครฉงชิ่ง มณฑลเสฉวน มณฑลยูนนาน และมณฑลกุ้ยโจว โดยมีจำนวนประชากรมากกว่าร้อยละ 40 ของจีนและปริมาณ GDP มากกว่าร้อยละ 40 ของจีน เมื่อปี 2557 จีนได้กำหนดการพัฒนาแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียงเป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติ โดยพึ่งพาเส้นทางการขนส่งทางน้ำของแยงซีเกียงในการผลักดันการพัฒนาอย่างมีคุณภาพสูงของภูมิภาคต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำแยงซีเกียง รวมทั้งผลักดันการเปิดประเทศของพื้นที่ชายฝั่งทะเล พื้นที่ตามลุ่มแม่น้ำ และพื้นที่ชายแดน ทั้งนี้ แถบเศรษฐกิจแยงซีเกียงมีกลุ่มเมืองใหญ่ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเมืองปากแม่น้ำแยงซีเกียง (นครเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองศูนย์กลาง) กลุ่มเมืองแยงซีเกียงตอนกลาง (นครอู่ฮั่นเป็นเมืองศูนย์กลาง) และกลุ่มเมืองนครเฉิงตู-นครฉงชิ่ง (นครฉงชิ่งเป็นเมืองศูนย์กลาง)
(3) อ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay Area (GBA))
โครงการอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าครอบคลุมพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของจีนตอนใต้คือ มณฑลกวางตุ้ง เขตปกครองพิเศษฮ่องกงและมาเก๊า โดยในเขตมณฑลกวางตุ้งครอบคลุม 9 พื้นที่ได้แก่ นครกว่างโจว เมืองเซินเจิ้น เมืองจูไห่ เมืองฝอซาน เมืองหุ้ยโจว เมืองตงกวน เมืองจงซาน เมืองเจียงเหมินและเมืองจ้าวชิ่ง โดยมีจำนวนประชากรประมาณ 70 ล้านคน และมีปริมาณ GDP มากกว่า 1.66 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงการอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าเป็นหนึ่งในโครงการยุทธศาสตร์ตามแนวคิด Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน ที่ได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปี (2559-2563) ฉบับที่ 13 ของจีน เมื่อปี 2560 จีนเริ่มกำหนดการพัฒนาอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าเป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติ
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 คณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาและปฎิรูปแห่งชาติ รัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง รัฐบาลเขตปกครองพิเศษฮ่องกง และรัฐบาลเขตปกครองพิเศษมาเก๊า ได้ลงนามกรอบข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมการสร้างเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าและความร่วมมือเชิงลึก มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในจีนตอนใต้และยกระดับขีดความสามารถของเศรษฐกิจภาพรวมของจีน ผ่านโครงการความร่วมมือเชิงลึกในระดับภูมิภาคและนานาชาติ ผลักดันบทบาทการเป็นผู้นำในทุก ๆ ด้านให้กับมณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า มีระยะเวลาการดำเนินงานทั้งสิ้น 5 ปี
ทั้งนี้ ทั้ง 4 ฝ่ายที่ลงนามกันดังกล่าวจะจัดการประชุมเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์โครงการ ติดตามผลงาน และแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความร่วมมือจะอาศัยความได้เปรียบจากอุตสาหกรรมของแต่ละพื้นที่ ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตของมณฑลกวางตุ้ง อุตสาหกรรมการเงินและโลจิสติกส์ของฮ่องกงและอุตสาหกรรมบริการของมาเก๊า ซึ่งโครงการอ่าวฯ จะเป็นโครงการที่เชื่อมพื้นที่ทั้ง 3 เข้าด้วยกัน โดยแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความได้เปรียบในแต่ละด้านระหว่างกัน โดยมีรัฐบาลกลางเป็นหน่วยงานเชื่อมและสนับสนุน โครงการฯ
(4) เขตเศรษฐกิจปากน้ำแยงซีเกียง (Yangtze River Delta Economic Integration)
เขตเศรษฐกิจปากน้ำแยงซีเกียงประกอบด้วย นครเซี่ยงไฮ้ เมือง 9 แห่งในมณฑลเจียงซู เมือง 9 แห่งในมณฑลเจ้อเจียง และเมืองอีก 9 แห่งในมณฑลอันฮุย เป็นเขตที่มีความเจริญเติบโตมากที่สุดของจีน และเป็นศูนย์กลางการค้า การเงิน และอุตสาหกรรมของจีนตั้งแต่ยุค 1930s ปัจจุบัน มีจำนวนประชากรประมาณ ร้อยละ 6 ของจีนและปริมาณ GDP ประมาณร้อยละ 25 ของจีน เมื่อปี 2561 จีนได้กำหนดการพัฒนา ไปด้วยกันของเขตเศรษฐกิจปากน้ำแยงซีเกียงเป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) เป็นเขตสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจจีน (2) เป็นเขตสาธิตของการพัฒนาที่มีคุณภาพสูงของจีน (3) เป็นเขตนำร่องการพัฒนาแบบมีความทันสมัยในขั้นพื้นฐาน (4) เป็นเขตสาธิตการพัฒนาไปด้วยกันในระดับภูมิภาค และ (5) เปิดเขตสำคัญนำร่องการปฏิรูปและเปิดประเทศในยุคสมัยใหม่
(1) ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI)
เป็นยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ที่เสนอแนวคิดโดย นายสี จิ้นผิง เมื่อปี 2556 โดยมีเป้าหมายเพื่อความเชื่อมโยงทางด้านคมนาคม ด้านโลจิสติกส์ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการสร้างความมั่นคงในเส้นทางการค้าทั้งทางบก และทางทะเลของจีนกับประเทศในเส้นทาง Belt and Road เป็นนโยบายที่รัฐบาลจีนส่งเสริมเพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศบนเส้นทาง Belt and Road และเป็นกรอบการทำงานที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับพหุภาคีของจีน
ในอีกแง่หนึ่งของ BRI คือการจัดสรรปันส่วนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยมุ่งเน้นการรวมตัวกันทางด้านการตลาด และความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ เพื่อกระจายผลประโยชน์สู่ส่วนรวมในภูมิภาค
โดยประเทศจีนได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม BELT AND ROAD FORUM FOR INTERNATIONAL COOPERATION (BRF) ครั้งแรก ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2017 โดยมีผู้นำจาก 29 ประเทศและผู้แทนจาก 110 ประเทศเข้าร่วม และจัดการประชุม BRF ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “Shaping a Brighter Shared Future” เมื่อวันที่ 25-27 เมษายน 2562 ที่กรุงปักกิ่ง มีผู้นำจาก 38 ประเทศ และผู้แทนราว 5,000 คนจากกว่า 150 ประเทศ และกว่า 90 องค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วม
ตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปลายเดือน มกราคม 2563 มีประเทศ/องค์กรระหว่างประเทศที่ได้ลงนามเอกสารความร่วมมือกับจีนด้าน BRI จำนวน 168 ประเทศ/องค์กร รวมข้อตกลงจำนวน 200 ฉบับ ปัจจุบัน จีนได้กลายเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของมากกว่า 25 ประเทศตามเส้นทาง BRI โดยข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์จีนชี้ว่า ในปี 2562 มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับประเทศตามเส้นทาง BRI มากกว่า 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากปี 2561 และคิดเป็นร้อยละ 29.4 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของจีน ด้านการลงทุน ในปี 2562 จีนได้ลงทุนประเทศตามเส้นทาง BRI มูลค่า 15,040 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไม่รวมภาคการเงิน) ลดลงร้อยละ 3.8 จากปี 2561 ในขณะที่ประเทศตามเส้นทาง BRI ได้จัดตั้งบริษัทใหม่ในจีน 5,591 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน 8,420 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 จากปี 2561
แนวทางความร่วมมือ
(2) ระเบียงการค้าระหว่างประเทศทางบกและทางทะเล (International Land and Sea Trade Corridor: ILSTC)
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน และ นายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ เป็นสักขีพยานร่วมในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับร่วมมือกันพัฒนาช่องทาง The New International Land-Sea Trade Corridor (ILSTC) ภายใต้โครงการสาธิต connectivity เชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีน (นครฉงชิ่ง) – สิงคโปร์ ปัจจุบัน มี 12 เมือง/มณฑลได้ลงนามเข้าร่วมพัฒนา ILSTC ได้แก่ เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง มณฑลยูนนาน มณฑลกุ้ยโจว มณฑลกานซู มณฑลชิงไห่ เขตปกครองตนเองซินเจียง มณฑลส่านซี เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน เขตปกครองตนเองทิเบต เข9ปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย มณฑลเสฉวน นครฉงชิ่ง
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง รหัสไปรษณีย์: 100600
Royal Thai Embassy, Beijing
21 Guang Hua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C.
ฝ่ายกงสุล
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง รหัสไปรษณีย์: 100600
Consular Section
21 Guang Hua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C.
เวลาทำการ
เปิดทำการทุกจันทร์- ศุกร์
Service Time
Monday and Friday
@2020 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง