ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย มีพรมแดนติดต่อกับประเทศต่าง ๆ โดยรอบ 14 ประเทศ คือ เกาหลีเหนือ รัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน เคอร์กิชสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย เนปาล ภูฏาน เมียนมา ลาว และเวียดนาม ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้
พื้นที่ | 9.561 ล้านตารางกิโลเมตร มีเส้นพรมแดนทางบกยาวกว่า 2 หมื่นกิโลเมตร |
ภูมิประเทศ | ทางตะวันตกส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา ทะเลทราย และที่ราบสูง และค่อย ๆ ลาดลงทางทิศตะวันออก |
รูปแบบการปกครอง | สังคมนิยมแบบจีน |
ประธานาธิบดี | นายสี จิ้นผิง (Xi Jinping) |
นายกรัฐมนตรี | นายหลี่ เค่อเฉียง (Li Keqiang) |
รัฐมนตรีต่างประเทศ | นายหวัง อี้ (Wang Yi) |
1 ตุลาคม (สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ภายหลัง จากที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีชัยชนะในสงครามกลางเมืองเหนือพรรคก๊กหมินตั๋ง)
รูปดาวสีเหลือง 5 ดวงบนพื้นสีแดง (ดาวดวงใหญ่หมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นผู้นำ ดาวเล็กๆ ทั้งสี่ดวงหมายถึง “ชนชั้น” ที่ประกอบขึ้นเป็นสังคมจีน คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นชาวนา ชนชั้นนายทุนน้อย และชนชั้นนายทุนแห่งชาติ)
เมืองหลวง | กรุงปักกิ่ง (ภาษาราชการจีนเรียกว่า “เป่ยจิง” – 北京– Beijing) |
ประชากร | 1,400 ล้านคน (2562) |
มีชนชาติต่าง ๆ อยู่รวมกัน 56 ชนชาติ โดยเป็นชาว ”ฮั่น” ประมาณร้อยละ 90 ที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อย ที่สำคัญได้แก่ ชนเผ่าจ้วง หุย อุยกูร์ หยี ทิเบต แม้ว แมนจู มองโกล ไตหรือไท เกาซัน
ภาษาจีนกลาง (ผู่ทงฮว่า 普通话) เป็นภาษาราชการ ชาวจีนในมณฑลต่าง ๆ มีภาษาพูดท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เช่น เสฉวน หูหนาน กวางตุ้ง ไหหลำ และฮกเกี้ยน
ศาสนาพุทธร้อยละ 18.2 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5.1 ศาสนาอิสลามร้อยละ 1.8 ศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 22.7 และมีประชากรที่ไม่นับถือศาสนาร้อยละ 52.2
การปกครองส่วนกลางแบ่งออกเป็น 23 มณฑล (รวมถึงไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง (มองโกเลีย หนิงเซี่ย ซินเจียง กวางสี และทิเบต) 4 มหานครที่ขึ้นต่อส่วนกลาง (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ (ฮ่องกง และมาเก๊า)
1 กรกฏาคม พ.ศ. 2518
นายอรรถยุทธ์ ศรีสมุทร (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2562)
ในระบอบการปกครองของจีนพรรคคอมมิวนิสต์จะเป็นผู้กำหนดนโยบาย และรัฐบาลจะเป็นผู้นำไปปฏิบัติ ในปัจจุบัน นโยบายสำคัญ ๆ ของรัฐบาลจีนประกอบด้วยนโยบายภายในที่สำคัญดังนี้
1. การปฏิรูปเชิงลึกอย่างรอบด้านและมีบูรณาการ 5 ด้าน (five-sphered integrated plan) ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างประเทศที่มีความรอบด้านใน 4 ด้าน (four comprehensive) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสังคมอยู่ดีกินดีปานกลางอย่างรอบด้าน การเป็นนิติรัฐอย่างรอบด้าน การปราบปรามทุจริตคอร์รัปชันในพรรคอย่างรอบด้าน
2. การปราบปรามการทุจริต ประพฤติมิชอบและการคอร์รัปชั่นอย่างเอาจริงเอาจังอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการกำจัดเนื้อร้ายที่คอยกัดกินผลของการพัฒนาประเทศของจีน ตลอดจนแก้ไขความไม่พอใจของประชาชนจีน อีกทั้งภาพลักษณ์ความชอบธรรมของพรรคคอมมิวนิสจีนในการบริหารและปกครองประเทศในระยะยาว
3. การปฏิรูประบบการบริหารประเทศและธรรมาภิบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการประเทศและต่อสู้กับความท้าทายทั้งรูปแบบเก่าและรูปแบบใหม่ ถือเป็นประเด็นที่ได้รับความสำคัญเป็นลำดับต้นแห่งยุค (epoch-making) ภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงมีสถานะเทียบเท่ากับ “การปฏิรูปเปิดประเทศ” ในสมัยของนายเติ้ง เสี่ยวผิง
สาธารณรัฐประชาชนจีนปกครองในระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 90 ล้านคน เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายด้านต่าง ๆ ของประเทศอย่างเบ็ดเสร็จตามแนวทางลัทธิมาร์กซ์-เลนิน ความคิดของอดีตประธานาธิบดีเหมา เจ๋อตง ทฤษฎีการสร้างสรรค์สังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์แบบจีนของเติ้ง เสี่ยวผิง รวมถึงทฤษฎีสามตัวแทน และแนวคิดสังคมนิยมที่มีอัตลักษณ์แบบจีนของนายสี จิ้นผิง ซึ่งได้รับการบรรจุลงในรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2561 โดยรัฐบาลและรัฐสภามีหน้าที่คอยปฏิบัติตามข้อมติและนโยบายที่พรรคกำหนดโดยยึดหลักประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ตามธรรมนูญพรรค กำหนดให้มีการประชุมสมัชชาพรรคแห่งชาติ (Party Congress) ทุก 5 ปี นับตั้งแต่ได้มีการจัดตั้งพรรคขึ้นในปี 2464 จนถึงปัจจุบัน พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดให้มีการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์แล้วรวมทั้งสิ้น 19 ครั้ง โดยได้จัดประชุมสมัชชาพรรคสมัยที่ 19 ไปเมื่อเดือน ตุลาคม 2560 ซึ่งนายสี จิ้นผิง ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนและประธานาธิบดีจีนต่ออีก 1 สมัย
สมัชชาพรรคสมัยที่ 19 ได้คัดเลือกบุคคลเป็นสมาชิกกรมการเมืองจำนวน 25 คน และสมาชิกกรมการเมือง 25 คนนี้ ได้เลือกตั้งสมาชิกถาวรประจำกรมการเมือง (Standing Committee of the Political Bureau of the Central Committee) จำนวน 7 คน ได้แก่
จีนให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างสันติ โดยเน้นการพัฒนาความสัมพันธ์เชิงทวิภาคี โดยพยายามเชื่อมจุดเด่นของจีนโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจให้เข้ากับผลประโยชน์ของโลก โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียและแอฟริกา ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบและตลาดส่งออกที่สำคัญของจีน ขณะเดียวกัน จีนมุ่งส่งเสริมความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์กับประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และสหภาพยุโรป และขยายบทบาทของจีนในกิจการระหว่างประเทศ โดยเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรระดับภูมิภาค เช่น อาเซียน สหภาพยุโรป ฯลฯ และเวทีพหุภาคีต่าง ๆ เช่น สหประชาชาติ เอเปค องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization: SCO) G20 และ BRICS
นโยบายการต่างประเทศหลักของรัฐบาลจีน คือ นโยบาย “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative: BRI) ซึ่งเป็นข้อริเริ่มในปี 2557 โดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงกันและความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา ซึ่งจีนได้จัดตั้งคณะทำงานระดับสูงและมีเครื่องมือขับเคลื่อนนโยบายอย่างเต็มรูปแบบ และกำหนดให้มีการจัดการประชุม Belt and Road Forum for International Cooperation ทุกๆ 2 ปี โดยครั้งที่ 1 จัดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 และครั้งที่ 2 จัดเมื่อเดือนเมษายน 2562 ที่กรุงปักกิ่ง
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง รหัสไปรษณีย์: 100600
Royal Thai Embassy, Beijing
21 Guang Hua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C.
ฝ่ายกงสุล
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง รหัสไปรษณีย์: 100600
Consular Section
21 Guang Hua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C.
เวลาทำการ
เปิดทำการทุกจันทร์- ศุกร์
Service Time
Monday and Friday
@2020 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง