สูติบัตร/มรณบัตร

แนวทางการพิจารณาได้สัญชาติไทยกรณีบุคคลเกิดนอกราชอาณาจักร

        บุตรสามารถถือสองสัญชาติได้จนถึงอายุ 20 ปี จากนั้นต้องเลือกถือสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง ในกรณีที่สละสัญชาติไทย จะต้องยื่นคำร้องขอสละสัญชาติไทยด้วย หากอายุยังไม่ถึง 20 ปี ยังไม่สามารถยื่นคำร้องขอสละสัญชาติได้ ทั้งนี้ บิดาหรือมารดาไม่สามารถยื่นขอสละสัญชาติแทนบุตรได้ เนื่องจากการสละสัญชาติเป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้อื่นจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอสละสัญชาติแทนได้ อย่างไรก็ตาม ตามกฎหมายจีนไม่อนุญาตให้มีการถือสองสัญชาติ ควรหารือกับหน่วยงานในท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

การแจ้งเกิด

ถึงแม้บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาเป็นผู้มีสิทธิและหน้าที่ในการแจ้งเกิดบุตร

1. เอกสารของบิดาและมารดาสัญชาติไทย

  • ใบคำร้องขอจดทะเบียนคนเกิด แบบฟอร์ม (ลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่)
  • บันทึกคำให้การของมารดา / บิดา (ลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่)
  • แบบฟอร์มลงทะเบียนเพื่อเข้ารับบริการที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ดาวน์โหลด
  • หนังสือเดินทาง (ฉบับจริง)
  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง หรือบัตรเหลืองติดรูปถ่าย หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หรือ ใบต้นขั้วคำร้องขอมีบัตรประชาชน มีตรารับรองจากที่ว่าการอำเภอ หรือเอกสารรับรองบุคคลออกโดยกรมการปกครอง (ฉบับจริง)
  • สำเนาทะเบียนบ้านไทยหรือฉบับที่มีตรารับรองจากที่ว่าการอำเภอ หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
  • รูปถ่ายสี 1 รูป (ถ่ายร่วมกัน 3 คน บิดา มารดา และบุตร หรือรูปถ่าย 2 คนคือมารดากับบุตรในกรณีที่ไม่มีบิดา) ไม่จำกัดขนาดแต่ควรเห็นหน้าชัดเจน
  • ทะเบียนสมรสไทย (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) *

     สำหรับชาวจีน: นำหนังสือรับรองสถานภาพสมรสออกโดยทางการของประเทศคู่สมรสไปแปลและรับรองที่ สำนักงาน Notary Public(公证处) ในมณฑล/เมืองที่อยู่ และนำ 公证书ไปทำนิติกรณ์ที่ สำนักงานต่างประเทศของแต่ละมณฑล/เมืองนั้น ๆ (外交部/外事办) โดยขอยื่นทำนิติกรณ์ที่เรียกว่า  泰国双认证 (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)

     สำหรับชาวต่างชาติ: หนังสือรับรองสถานภาพสมรสออกโดยทางการของประเทศคู่สมรส ซึ่งจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับการรับรองเอกสารจากสถานทูต/สถานเอกอัครราชทูตฯ ของประเทศคู่สมรสซึ่งประจำประเทศจีน  (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) กรณีบิดารับรองบุตร ใบรับรองบุตร (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) นำเอกสารดังกล่าวไปแปลและรับรองที่ สำนักงาน Notary Public(公证处) ในมณฑล/เมืองที่อยู่

 2. เอกสารประจำตัวบุตร

           ใบรับรองเกิดออกโดยโรงพยาบาล (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) นำเอกสารดังกล่าวไปแปลและรับรองที่ สำนักงาน Notary Public(公证处) ในมณฑล/เมืองที่อยู่ และนำ 公证书 ไปทำนิติกรณ์ที่ สำนักงานต่างประเทศของแต่ละมณฑล/เมืองนั้น ๆ (外交部/外事办) โดยขอยื่นทำนิติกรณ์ที่เรียกว่า  泰国双认证 (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)

หมายเหตุ : ในกรณีที่บุตรเป็นเพศชาย รับทราบว่า บุตรจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. รับราชการทหาร พ.ศ. 2497  ในการแสดงตนขึ้นทะเบียนทหารเมื่ออายุ 17 ปีบริบูรณ์ และรับหมายเรียกเพื่อเข้ารับการเกณฑ์ทหาร เมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์ 

3. เอกสารของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นคนจีนหรือชาติอื่น ๆ

  • หนังสือเดินทาง หรือใบขับขี่รถยนต์ (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)

หมายเหตุ

กรณีบิดามารดาจดทะเบียนสมรส

  • บุตรมีสิทธิใช้นามสกุลบิดา หากประสงค์ให้บุตรใช้นามสกุลมารดา ทั้งบิดาและมารดาต้องทำหนังสือให้ถ้อยคำยืนยัน
  • สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่สามารถดำเนินการในกรณีที่บิดามารดาประสงค์ให้บุตรใช้นามสกุลของบุคคลอื่นที่มิใช่นามสกุลของบิดามารดา

กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส

  • ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาและมีสิทธิใช้นามสกุลของมารดา
  • หากประสงค์ให้บุตรใช้นามสกุลบิดา บิดาและมารดาต้องทำหนังสือให้ถ้อยคำให้บุตรนอกสมรสใช้นามสกุลบิดา

การเพิ่มชื่อบุตรในทะเบียนบ้านไทย

  • ควรทำหนังสือเดินทางไทยให้บุตรที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และเพิ่มชื่อบุตรเข้าในทะเบียนบ้านไทย หากไม่ทำการเพิ่มชื่อบุตรเข้าทะเบียนบ้านไทย บุตรจะเสียสิทธิในประเทศไทย เช่น บุตรอาจจะไม่สามารถเข้าโรงเรียนในประเทศไทยได้
  • สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่สามารถแจ้ง ที่ว่าการอำเภอไทยเพื่อเพิ่มชื่อเด็กเข้าทะเบียนบ้านไทยให้ได้ ท่านต้องไปแจ้งที่ว่าการอำเภอไทย ซึ่งโดยทั่วไปต้องไปติดต่อด้วยตนเอง เนื่องจากต้องแสดงหนังสือเดินทางไทยของบุตรที่ได้รับการประทับตราเข้าเมือง จากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองไทยไปแสดง อย่างไรก็ตาม ควรสอบถามจากที่ว่าการอำเภอ/เขตโดยตรง 

เมื่อมีผู้เสียชีวิต ผู้แจ้งการตาย ได้แก่ ญาติ บุคคลที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พบศพ

เอกสารของผู้แจ้งการตาย

  • แบบฟอร์มลงทะเบียนเพื่อเข้ารับบริการที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ดาวน์โหลด
  • ใบคำร้องขอจดทะเบียนคนตาย แบบฟอร์ม (ลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่)
  • หนังสือเดินทางฉบับจริง
  • บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง

เอกสารแสดงตัวของผู้เสียชีวิต

  • หนังสือรับรองการตายซึ่งออกโดยหน่วยงานท้องถิ่น (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) 1 ชุด โดยนำเอกสารดังกล่าวให้ Notary Public ในพื้นที่รับรองเอกสาร ในกรณีของประเทศจีน โปรดติดต่อกับสำนักงานนิติกรณ์ประจำพื้นที่ (Notary Service Office: 公证处)
  • หนังสือเดินทาง (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง หรือบัตรเหลืองติดรูปถ่าย หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่ายหรือใบต้นขั้วคำร้องขอมีบัตรประชาชน มีตรารับรองจากที่ว่าการอำเภอ หรือเอกสารรับรองบุคคลออกโดยกรมการปกครอง (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
Group 96