เอกสารอื่น ๆ

          ผู้ร้องกรอกแบบฟอร์มเนื้อหาให้ครบถ้วนและมาลงนามต่อหน้าเจ้าพนักงานที่สถานเอกอัครราชทูตการรับรองลายมือชื่อประเภทต่าง ๆ เช่น

หนังสือมอบอำนาจ

       หากไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทย แต่มีความประสงค์จะดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารที่หน่วยงานราชการไทย เช่น

1. ขอคัดสำเนาเอกสารประจำตัวบุคคลต่างๆ เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาสูติบัตร สำเนาทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว สำเนาทะเบียนสมรสและหย่า
2. ขอหนังสือรับรองต่างๆ เช่น หนังสือรับรองความเป็นโสด หนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หนังสือรับรองสถานที่เกิด หนังสือรับรองประวัติการยื่นขอทำใบอนุญาตขับรถยนต์
3. ขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรสและหย่า
4. กรณีบิดามารดาอาศัยอยู่ในประเทศจีน และประสงค์ให้ผู้อื่นพาบุตรไปทำหนังสือเดินทางที่กระทรวงการต่างประเทศไทย
5. ดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับที่ดิน

สามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือมอบอำนาจได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อมอบอำนาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งไปดำเนินการแทนที่หน่วยงานราชการไทย

           โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

  • หนังสือมอบอำนาจ แบบฟอร์ม (ลงรายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่)
  • หนังสือเดินทางหรือบัตรประชาชน* (ฉบับจริงและสำเนา) ของผู้มอบอำนาจ
  • บัตรประจำตัวประชาชน* (สำเนา) ของผู้รับมอบอำนาจ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  • เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการมอบอำนาจ
* กรณีที่เป็นคนไทย สามารถใช้บัตรประชาชนแทนได้
 
ค่าธรรมเนียม : 125 หยวน / ฉบับ (ชำระเป็นเงินสด หรือ Alipay)

          กรณีที่บุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุยังไม่ถึง 20 ปี)  หากบิดามารดาไม่สามารถพาบุตรไปทำหนังสือเดินทางที่กระทรวงการต่างประเทศไทย สามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือยินยอมและหนังสือมอบอำนาจได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

เอกสารของบิดา/มารดา ที่เป็นสัญชาติไทย

  • หนังสือยินยอม แบบฟอร์ม
  • หนังสือเดินทาง* (ฉบับจริงและสำเนา)
  • บัตรประชาชน (ฉบับจริงและสำเนา)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ หรือใบเปลี่ยนนามสกุล
  • สำเนาทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่าไทย หรือ ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว

เอกสารของบิดา/มารดา ที่เป็นชาวต่างชาติ

  • หนังสือเดินทาง* (ฉบับจริงและสำเนา) ของบิดา/มารดา                           

เอกสารของบุตร

  • สำเนาหนังสือเดินทาง
  • สำเนาสูติบัตร
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อหรือใบเปลี่ยนนามสกุล

ค่าธรรมเนียม : 125 หยวน / ฉบับ (ชำระเป็นเงินสด หรือ Alipay)

 

ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์

         หากต้องการจดทะเบียนรับเด็กที่อายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ เป็นบุตรบุญธรรม สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
 Tel : 66 2354 7509
 Tel : 66 2354 7511 หรือทางเว็บไซต์ www.adoption.dsdw.go.th

ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป

          หากต้องการจดทะเบียนรับเด็กที่บรรลุนิติภาวะแล้วเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายไทย ผู้รับบุตรบุญธรรมจะต้องอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และมีอายุมากกว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี ทั้งนี้ ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม และคู่สมรสของทั้งสองฝ่ายจะต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง และสถานเอกอัครราชทูตฯ จะนัดให้มาจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมอีกครั้งหลังจากยื่นคำร้องประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

เอกสารของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

  1. แบบฟอร์มลงทะเบียนคนไทยที่เข้ารับบริการที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
  2. บันทึกการสอบสวน สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
  3. หนังสือเดินทางฉบับจริง
  4. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง 
  5. ทะเบียนบ้านฉบับจริง 
  6. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลตัวจริง หากเคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลมาก่อน 
  7. รูปถ่ายสี ขนาด 3 x 4 ซ.ม. 1 รูป
  8. กรณีจดทะเบียนสมรส ต้องนำใบสำคัญการสมรสตัวจริงหรือทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวสมรส และคู่สมรสจะต้องมาลงลายมือชื่อที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
    (หากคู่สมรสอยู่ที่ประเทศไทย ต้องมีหนังสือให้ความยินยอมจากคู่สมรสออกโดยอำเภอไทย ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศไทยแล้วไม่เกิน 3 เดือน) โดยคู่สมรสจะต้องเตรียมเอกสารและรูปถ่ายเช่นเดียวกันกับผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
  9. กรณีจดทะเบียนหย่า ใบสำคัญการหย่าตัวจริงหรือทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวหย่า
  10. หนังสือรับรองความเป็นโสดออกโดยอำเภอไทย กรณีที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรองว่าไม่เคยสมรสกับผู้ใด ภายหลังการหย่าแทน โดยต้องผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศไทยแล้วไม่เกิน 3 เดือน พร้อมสำเนา 1 ชุด
  11. พยาน 2 คน กรุณาเตรียมเอกสารในข้อ 3. – ข้อ 5. มาด้วย

เอกสารของคนจีนที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

  1. แบบฟอร์มลงทะเบียนคนไทยที่เข้ารับบริการที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
  2. บันทึกการสอบสวน สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
  3. หนังสือเดินทางฉบับจริง
  4. ทะเบียนครอบครัวจีน หรือฉบับจริง ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศจีนไม่เกิน 3 เดือน
  5. หนังสือรับรองการทำงาน ผ่านการประทับตรารับรองจากโนตารีพับลิค กระทรวงการต่างประเทศจีนไม่เกิน 3 เดือน
  6. หนังสือรับรองเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน ผ่านการประทับตรารับรองจากโนตารีพับลิคและกระทรวงการต่างประเทศจีนไม่เกิน 3 เดือน
  7. หนังสือรับรองการเสียภาษี ออกโดยที่ว่าการอำเภอจีน
  8. รูปถ่ายสี ขนาด 3 x 4 ซ.ม. 1 รูป
  9. กรณีจดทะเบียนสมรส คู่สมรสจะต้องมาลงลายมือชื่อเพื่อให้ความยินยอมที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
    โดยต้องเตรียมเอกสารในข้อ 3. และ ข้อ 8. หากคู่สมรสเป็นบุคคลสัญชาติไทย จะต้องเตรียมเอกสารในข้อ 3. – ข้อ 9. เช่นเดียวกันกับผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
    คำร้อง , บันทึกการสอบสวน

หลักฐานและเอกสารยื่นประกอบ

ขั้นตอนการขอนิติกรณ์เอกสารสำเร็จการศึกษา

  • นำเอกสาร (ใบปริญญา ใบวุฒิและใบ transcript) ไปแปลและรับรองที่สำนักงาน Notary Public(公证处) ในมณฑล/เมืองที่อยู่ ซึ่งจะได้รับ 公证书 * เอกสาร 1 รายการต้องทำอย่างน้อย 2 ชุด (เนื่องจากสถานเอกอัครราชทูตจะต้องเก็บไว้เป็นหลักฐาน 1 ชุด)
  • นำ 公证书ไปทำนิติกรณ์ที่สำนักงานต่างประเทศของแต่ละมณฑล/เมืองนั้น ๆ (外交部/外事办) โดยขอยื่นทำนิติกรณ์ของกระทรวงการต่างประเทศจีน หรือที่เรียกว่า “单认证”
  • นำ 公证书ที่ผ่านการทำ “单认证” แล้วมาทำนิติกรณ์ของสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือที่เรียกว่า “双单认证”

ค่าธรรมเนียม : 125 หยวน / ฉบับ (ชำระเป็นเงินสด หรือ Alipay)

Group 96

เอกสารอื่น ๆ

กรณีมีความประสงค์ให้สถานเอกอัครราชทูตรับรองเอกสารจากไทยเพื่อใช้ในประเทศจีน ผู้ร้อง จะต้องนำเอกสารดังกล่าวไปรับรองนิติกรณ์และแปลที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล (หรือจุดบริการที่กรมการกงสุลกำหนดก่อน) เนื่องจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่มีอำนาจในการรับรองเอกสารโดยตรง

ตัวอย่าง เช่น

  • เอกสารที่เกี่ยวกับทะเบียนราษฎร ทะเบียนครอบครัว และเอกสารเกี่ยวกับบุคคล เช่น สูติบัตร มรณบัตร ทะเบียนสมรส ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนหย่า ใบสำคัญการหย่า ทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน ใบเปลี่ยนชื่อ ใบเปลี่ยนสกุล หนังสือรับรองความเป็นโสด เป็นต้น
  • เอกสารเกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น ทะเบียนนิติบุคคล ใบทะเบียนการค้า ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิ รายชื่อผู้ถือหุ้น รายงานการตรวจสอบบัญชีงบดุล ใบเสร็จชำระภาษี เป็นต้น
  • เอกสารทางการศึกษา เช่น ใบสุทธิประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร หนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษา เป็นต้น
  • เอกสารอื่น ๆ เช่น เอกสารสัญญา หรือเอกสารทางศาล หนังสือมอบอำนาจ ใบอนุญาตจัดหางานไปทำงานต่างประเทศ ใบอนุญาตขับขี่ เป็นต้น